ถูกประเมินภาษีไม่ถูกต้อง มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ! | KASME อบรมบัญชี CPD
ดาวน์โหลดแบบคำอุทธรณ์ ภ.ส 6 ได้ที่นี่
ถูกประเมินภาษีไม่ถูกต้อง มีสิทธิอุทธรณ์ได้ ! ✅อัพเดตข่าวสารเกี่ยวกับภาษีและบัญชีจากสถาบัน KASME อบรมบัญชี CPD🔰คลิกลิ้งค์เพื่ออ่านเพิ่มเติม www.kasmethai.com #TaxTips #AccountingNews 📚
การอุทธรณ์ภาษีอากร เป็นกระบวนการยุติธรรมอย่างหนึ่งที่กฎหมายประมวลรัษฎากรกำหนดให้ผู้ถูกประเมินภาษีสามารถใช้สิทธิคัดค้านการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมิน ที่ผู้ถูกประเมินภาษีเห็นว่าไม่ถูกต้องต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้
การคัดค้านการประเมินภาษีอากรสามารถทำได้โดยผู้ถูกประเมินภาษี
ยื่นคำอุทธรณ์เป็นหนังสือด้วยแบบคำอุทธรณ์ตามที่อธิบดีกรมสรรพากรกำหนด
สามารถยื่นคำอุทธรณ์เป็นรายฉบับตามหนังสือแจ้งการ ประเมิน หรือรวมยื่นคำอุทธรณ์ฉบับเดียวสำหรับหนังสือแจ้งการประเมินหลายฉบับก็ได้
ระบุให้ชัดแจ้งว่าอุทธรณ์คัดค้านการประเมินภาษี
ประเภทใด
เดือนและปีภาษีใด
ตามหนังสือแจ้งการประเมินฉบับใด
เป็นจำนวนเงินภาษีเท่าใด
ไม่เห็นด้วยกับการประเมินในประเด็นใด ให้เหตุผลทุกประเด็น พร้อมแสดงเอกสารหลักฐานประกอบเหตุผลนั้นด้วย
กำหนดเวลาการยื่นอุทธรณ์
ผู้จะใช้สิทธิอุทธรณ์ จะต้องยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งการ
ประเมินภาษีจากเจ้าพนักงานประเมิน
เช่น
1.ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินวันที่ 2 ตุลาคม 2545 จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2545 หรือ
2.ได้รับหนังสือแจ้งการประเมินวันที่ 4 ตุลาคม 2545 จะต้องยื่นอุทธรณ์ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน 2545 เป็นต้น
ผู้ถูกประเมินภาษีอากรสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อใคร
1. ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ซึ่งประกอบด้วยอธิบดี
กรมสรรพากรหรือผู้แทน ผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุด และผู้แทนกรมการปกครอง
2. ในต่างจังหวัด ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ซึ่งประกอบด้วยผู้ว่าราชการจังหวัดหรือ
ผู้แทน สรรพากรภาคหรือผู้แทน และอัยการจังหวัดหรือผู้แทน
ผลการพิจารณาอุทธรณ์เป็นอย่างไร
เมื่อผู้อุทธรณ์ได้ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์แล้ว คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะพิจารณาและวินิจฉัยข้อโต้แย้งตามคำอุทธรณ์นั้น เมื่อแล้วเสร็จจะส่งผลเป็นคำวินิจฉัยอุทธรณ์ (ภ.ส.7) ให้แก่ผู้ยื่นอุทธรณ์ ดังนี้
1. ให้ปลดภาษีเนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินไม่ถูกต้อง ในกรณีนี้ผู้อุทธรณ์ไม่ต้องเสียภาษีตามการประเมิน
2. ให้ลดภาษีเนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินบางส่วนถูกต้อง และบางส่วนไม่ถูกต้อง จึงปรับปรุงจำนวนภาษีให้คงเหลือเท่าที่ผู้อุทธรณ์ต้องชำระภาษีเพิ่มเติมให้ครบถ้วน
3. ให้ยกอุทธรณ์ เนื่องจากพิจารณาเห็นว่า การประเมินถูกต้องแล้ว ซึ่งผู้อุทธรณ์ต้องเสียภาษีตามการประเมิน
4. ให้เพิ่มภาษีเนื่องจากได้พิจารณาประเด็นการประเมินและข้อโต้แย้งของผู้อุทธรณ์แล้วปรากฏว่า การประเมินถูกต้อง แต่เจ้าพนักงานประเมินคำนวณภาษีคลาดเคลื่อนต่ำไป คณะกรรมการฯ อาจปรับปรุงการคำนวณภาษีและมีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีเพิ่มขึ้นได้
นอกจากนี้ เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้วินิจฉัยข้อโต้แย้งตามคำอุทธรณ์และแจ้งผลการวินิจฉัยให้แก่ผู้อุทธรณ์ทราบแล้ว หากผู้อุทธรณ์ยังไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์อีก ผู้อุทธรณ์ยังมีสิทธิยื่นคำฟ้องต่อศาลภาษีอากรภายใน 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์จากคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้อีกด้วย
การอุทธรณ์ภาษีอากร ในกรณีหากเกิดปัญหาข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายขัดแย้งพิพาทกันระหว่างผู้เสียภาษีอากรและผู้จัดเก็บภาษีอากร เกี่ยวกับจำนวนภาษีอากรที่ต้องเสีย หรืออำนาจการประเมินเรียกเก็บภาษีอากรนั้น หากผู้เสียภาษีไม่เห็นด้วยกับการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน
ผู้เสียภาษีก็มีสิทธิที่จะคัดค้านการประเมินนั้นได้โดยการยื่นอุทธรณ์คัดค้านต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมิน และเมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ชี้ขาดอุทธรณ์แจ้งไปยังผู้อุทธรณ์แล้ว หากผู้อุทธรณ์ยังไม่พอใจในคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยนั้นต่อไปได้อีกโดยการฟ้องต่อศาลภาษีอากรภายในกำหนดเวลา 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์
ที่มา: คณะทำงานดำเนินการพัฒนาประสิทธิภาพกระบวนงานบริการภาครัฐ กรมสรรพากร
สถาบัน KASME
รหัสสถาบัน 06-153(สภาฯบัญชี)
รหัสองค์กร 3-0011(กรมสรรพากร)
โทร 033 060 395, LINE: KASMETHAI
เว็บไซต์สถาบัน: www.kasmethai.com
สนทนาพาทีภาษาภาษี และบัญชี กับวิทยากรประจำสถาบัน ในกลุ่มกระดานภาษี ADD LINE ID: KASMETHAI และแจ้งแอดมิน "ขอเข้ากลุ่มภาษี"
Comments