ภาษีกับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ภาค 2
เมื่อวิเคราะห์โครงสร้างภาษีไทยในปัจจุบัน จะพบปัญหาภาษีที่มีอยู่ รวมถึงปัญหา ที่กำลังจะเกิดขึ้นในเมื่อเปิดเสรี AECประเด็นปัญหาภาษี ที่ควรต้องปรับปรุงอย่างเร่งด่วน เพื่อลดอุปสรรค และเพิ่มโอกาสในการแข่งขันต่อการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กล่าวคือ
ปัญหาภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
1. ภาษีเงินได้ของไทยไม่ใช่แหล่งรายได้หลัก มีสัดส่วนในการจัดเก็บภาษี ประมาณ 25 % และมีฐานภาษีที่แคบ จากข้อมูลสถิติของกรมสรรพากรในปี ภาษี 2553 พบว่าประชากรทั้งประเทศ 64 ล้านคน มีประชากรที่อยู่ในวัยแรงงานจำนวน 38 ล้านคน แต่ มีผู้ยื่นแบบภาษีเงินได้ 9 ล้านแบบ และมีเพียง 2.3 ล้านแบบ เท่านั้นที่มีภาษีชำระ ดังนั้น เมื่อ AEC เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่ฐานภาษีจะแคบลง และอัตราภาษีที่จะลดลงเนื่องจากการแข่งขันทำให้จำนวนสัดส่วภาษีเงินได้จะลดลงไปอีก
2. อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาขั้นสูงสุดของไทยลดลงจาก 37% มาอยู่ที่ 35 % ยังอยู่ในระดับสูงเมื่อเทียบกับประเทศ ในกลุ่ม AEC (ดูตารางที่ 2 ) ดังนั้นเมื่อเปิดเสรีอาเซียน จึงไม่จูงใจ ที่จะดึงดูดนักลงทุน หรือแรงงานมีฝีมือที่มีศักยภาพ เข้ามาอยู่ ทำงาน และเสียภาษีในประเทศไทยในทางกลับกัน จะมีแรงงานฝีมือที่มีรายได้สูงของไทยย้ายไปทำงานในประเทศอื่นที่ภาษีต่ำกว่า
3.โครงสร้างการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา...
อ่านต่อ คลิ๊ก