แนวทางการเสียภาษีสำหรับธุรกิจค้าอสังหาริมทรัพย์
สาระน่ารู้ดีๆทางภาษี สำหรับผู้ประกอบการค้าอสังหาริมทรัพย์ หรือท่านที่กำลังจะนำทรัพย์ออกขาย หรือมีการรับซื้อเข้ามา ในวันนี้เราจะไปทำความรู้จัก และเข้าใจกับภาษีที่เกี่ยวข้อง กับการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์กันค่ะ
สำหรับภาษีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อ-ขายอสังหาริมทรัพย์ มีดังนี้
- ภาษีเงินได้
- ภาษีธุรกิจเฉพาะ
- ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
- อากรแสตมป์
- ค่าธรรมเนียมการโอน
ภาษีเงินได้
กรณีบริษัทหรือหุ้นส่วนนิติบุคคล
>> อัตราภาษี 1%
>> คำนวณจากราคาประเมินทุนทรัพย์ (ราคาประเมินของราชการ)
กรณีบุคคลธรรมดา
>> อัตราภาษี+ค่าใช้จ่ายเมื่อโอนที่ดิน 5-35% (ตามมติ ครม.แก้ไขเรื่องฐานภาษี 18 ตุลาคม 2559)
>> ใช้ฐานภาษี "ราคาซื้อขาย" หรือ "ราคาประเมิน" แล้วแต่อย่างใดจะสูงกว่า
อากรแสตมป์
>> คิดอัตราภาษี 0.5% ทั้งบุคคลธรรมดา และนิติบุคคล โดยคิดจากราคาซื้อขาย (ได้รับยกเว้นหากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ)
ค่าธรรมเนียมการโอน
>> อัตราภาษี 2% ทั้งบุคคลธรรมดาและนิติบุคคล โดยคิดจากราคาประเมิน
ภาษีธุรกิจเฉพาะ
>> อัตราภาษี 3.3% ของราคาซื้อขาย
>> กรณีบุคคลธรรม หากถือครองเกิน 5 ปี จะได้รับยกเว้น
ภาษีหัก ณ ที่จ่าย
ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย จากการขายอสังหาริมทรัพย์ ตามมาตรา 69 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลขายอสังหาริมทรัพย์ มีรายละเอียดหลักเกณฑ์ วิธีการหักภาษี ณ ที่จ่าย ดังนี้
(1) ผู้มีหน้าที่หักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่ บุคคล ห้างหุ้นส่วน บริษัท สมาคม คณะบุคคล ซึ่งจ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ ให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล (2) ผู้ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย ได้แก่บริษัท หรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ตามประมวลรัษฎากร ซึ่งขายอสังหาริมทรัพย์
(3) อัตราการหักภาษี ณ ที่จ่าย ผู้จ่ายเงินค่าซื้ออสังหาริมทรัพย์ จะต้องหักภาษีจากเงินที่จ่ายร้อยละ 1 ของราคาขายหรือราคาประเมินทุนทรัพย์ของกรมที่ดินแล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า การหักภาษี ณ ที่จ่าย หักเมื่อมีการโอนกรรมสิทธิ์ หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์
ที่มา: กรมสรรพากร