ปุจฉา-วิสัชชนา กับภาษีกองทุนรวมโดยกรมสรรพากร
คำถามคำตอบ
การปรับปรุงกำรจัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) พ.ศ.2562
สาระสำคัญของการปรับปรุงเป็นอย่างไร
กำหนดให้กองทุนรวมมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เฉพาะเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) แห่งประมวลรัษฎากร (ดอกเบี้ยและส่วนลด) ในอัตราร้อยละ 15 ของรายได้ก่อนหักรายจ่ายใดๆ โดยให้ผู้จ่ายทุกรายหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่ายในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ แล้วกองทุนรวมไม่ต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลอีก
แต่กรณีผู้จ่าย ไม่ได้หักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย เช่น ได้ดอกเบี้ยหรือส่วนลดจากต่างประเทศ กองทุนรวมต้องนำไปรวมคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคล
ทั้งนี้ กรณีได้ดอกเบี้ย หรือส่วนลดจากต่างประเทศ กองทุนรวมสามารถนำภาษีเงินได้ที่เสียไปในต่างประเทศ มาเป็นเครดิตในการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในไทย ตามหลักเกณฑ์ที่กรมสรรพากรประกาศกำหนด
โดยกองทุนรวมในที่นี้ หมายถึงกองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ.2535 มิใช่กองทุนที่ตั้งขึ้นตามกฏหมายอื่น
การปรับปรุงจะมีผลใช้บังคับเมื่อใด
มีผลบังคับใช้ ในวันที่ 20 สิงหาคม 2562 แต่ไม่ใช้บังคับแก่การลงทุน หรือการฝากเงินของกองทุนรวม ที่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2562 แม้จะได้รับดอกเบี้ยหลังวันที่ 20 สิงหาคม 2562 ก็ตาม
รวมทั้งจะมีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล ให้แก่ดอกเบี้ยที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 เป็นต้นไป แต่เกิดขึ้นก่อนวันที่ 20 สิงหาคม 2562 เช่น กรณีกองทุนรวมได้รับโอนตราสารหนี้ มาตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 และเมื่อได้รับดอกเบี้ยงวดแรกจากตราสารหนี้นั้น (ได้รับหลังวันที่ 20 สิงหาคม 2562) มีดอกเบี้ยทั้งที่เกิดขึ้นก่อนและตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562 กองทุนรวมจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เฉพาะดอกเบี้ยส่วนที่เกิดขึ้น ตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2562
นอกจากนั้น จะมีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ต่างประเทศ เฉพาะส่วนที่เกิดขึ้นก่อนกองทุนรวมได้รับโอนตราสารหนี้ต่างประเทศนั้นมาด้วย เช่น กรณีกองทุนรวมได้รับโอนตราสารหนี้ต่างประเทศมาในวันที่ 1 พฤษภาคม 2563 และเมื่อได้รับดอกเบี้ยจากตราสารหนี้ต่างประเทศนั้น ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2563 มีดอกเบี้ยทั้งที่เกิดขึ้นก่อนและตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 กองทุนรวมจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล เฉพาะดอกเบี้ยส่วนที่เกิดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2563 ซึ่งต่างจากกรณีกองทุนรวมได้รับโอนตราสารหนี้ไทยมา กองทุนรวมจะเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับดอกเบี้ยทั้งหมด โดยภาระภาษีของกองทุนรวมสำหรับดอกเบี้ยส่วนที่เกิดขึ้นก่อนได้รับโอนตราสารหนี้ไทยนั้นมาจะรวมอยู่ในราคาซื้อขายตราสารหนี้ที่กองทุนรวมผู้รับโอนตราสารหนี้กับบุคคลอื่น ผู้โอนตราสารหนี้ตกลงกัน
อ่านคัมภีร์ฉบับเต็ม กับการถามตอบทางด้านกองทุนรวม ได้ที่นี่ https://drive.google.com/open?id=1j_9u9SHygNFPlb9Z-KSYpMnEs6GAdJOR
ขอขอบคุณข้อมูล🙏: เว็บไซต์กรมสรรพากร