ทำความเข้าใจกับประเภทของกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
บางกิจการอาจมีข้อสงสัย กับคำว่า #ภาษีธุรกิจเฉพาะ ว่ากิจการประเภทใดบ้างที่ต้องเสียภาษีดังกล่าว และกิจการของเราต้องเสียด้วยหรือไม่ ในวันนี้ สถาบันคัสเม่จะขอนำเสนอความหมายและประเภทของกิจการ ที่เข้าข่ายต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะกันค่ะ
ทั้งนี้ ความหมายของ ภาษีธุรกิจเฉพาะ คือ ภาษีประเภทหนึ่งตามประมวลรัษฎากร โดยจัดเก็บจากกิจการที่กฏหมายกำหนดไว้เป็นพิเศษแยกต่างหากจากภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยกรมสรรพากรคือหน่วยงานรับผิดชอบในการจัดเก็บภาษีดังกล่าว #ประเภทของกิจการต่างๆที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะมีดังนี้ 1. การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ 2. การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ อาทิเช่น การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ 3. การรับประกันชีวิต คือ การประกันชีวิต 4. การรับจำนำ เช่น โรงรับจำนำ 5. การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ ในกรณีที่มีปัญหาว่า กิจการใดเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หรือไม่ อธิบดีกรมสรรพากรจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขตและเงื่อนไขของการประกอบกิจการดังกล่าวนั้นก็ได้และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัย ภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยนั้นในราชกิจจานุเบกษา 6. การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) พ.ศ.254