1272965523380705 1272965523380705
top of page

ภาษีมูลค่าเพิ่มกับการขนส่งสินค้าทางทะเลแบบชาร์เตอร์


ในยุคปัจจุบัน การขนส่งสินค้าทางทะเลถือเป็นกลยุทธ์สำคัญส่วนหนึ่งของระบบการค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นวิธีการขนส่งที่เอื้ออำนวยต่อการขนสินค้าได้ทีละมากๆ จากรายงานของโครงการศึกษาแผนหลักการพาณิชยนาวี ของคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวี กระทรวงคมนาคม รายงานฉบับสมบูรณ์สิงหาคม 2542 ระบุว่า ประเทศไทยพัฒนาประเทศ โดยอาศัยการค้าระหว่างประเทศมาโดยตลอด มีการนำเข้าและส่งออกสินค้าเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยมีมูลค่ามากกว่าร้อยละ 80 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) โดยการขนส่งสินค้าทั้งขาเข้าและขาออกของไทยนั้น จะเป็นการขนส่งทางทะเล เป็นส่วนใหญ่

ด้วยเหตุนี้ การขนส่งสินค้าทางทะเลจึงเป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการแข่งขันทางการค้าในตลาดโลก และในการรับทราบในเรื่องของภาระทางด้านภาษีกับการขนส่งทางทะเล จึงเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทั้งผู้ว่าจ้างและเจ้าของเรือ ควรทำความเข้าใจ เพื่อนำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง ดังนี้

1. การจ้างเป็นรายเที่ยว (Voyage Charter) หมายถึง การตกลงระหว่างผู้ว่าจ้างและเจ้าของเรือ โดยเจ้าของเรือยังมีอำนาจสั่งการและสิทธิครอบครองเรือ ค่าใช้จ่ายต่างๆเจ้าของเรือจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบ มีเกณฑ์การเสียภาษีดังนี้ 1) การขนส่งภายในประเทศ >> จะได้รับการยกเว้น 2) การขนส่งนำเข้ามาในประเทศหรือส่งออกไปนอกประเทศ >> จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7 3) การขนส่งระหว่างประเทศทั้งการนำเข้าหรือส่งออกที่กระทำการโดยนิติบุคคล >> ได้รับสิทธิให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0

2. การเหมาแบบมีกำหนดระยะเวลา (Time Charter) คือ สัญญาระหว่างผู้ว่าจ้างและเจ้าของเรือโดยเจ้าของเรือมีอำนาจสั่งการและสิทธิครอบครองเรือเช่นเดิม ค่าใช้จ่ายส่วนของน้ำมันเชื้อเพลิงจะตกอยู่กับผู้ว่าจ้างเนื่องจากผู้ว่าจ้างมีสิทธิสั่งเรือไปที่ใดก็ได้โดยที่เจ้าของเรือไม่สามารถคิดค่าน้ำมันล่วงหน้าได้แต่ยังมีสิทธิถอนเรือจากการขนส่งได้และมีเกณฑ์เสียภาษีดังต่อไปนี้ 1) การขนส่งภายในประเทศ >> จะได้รับการยกเว้น 2) การขนส่งนำเข้ามาในประเทศหรือส่งออกไปนอกประเทศ >> จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7 3) การขนส่งระหว่างประเทศทั้งการนำเข้าหรือส่งออกที่กระทำการโดยนิติบุคคล >> ได้รับสิทธิให้เสียภาษีในอัตราร้อยละ 0

3. การประกอบกิจการตามสัญญาเช่าเรือเปล่า (Bareboat Charter)👌หมายถึง การที่เจ้าของเรือส่งมอบเรือเปล่าให้แก่คู่สัญญาโดยการควบคุมดูแลค่าใช้จ่ายต่างๆรวมถึงนายเรือลูกเรือจะเป็นความรับผิดชอบของคู่สัญญาโดยกรณีดังกล่าวถือเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับการให้บริการซึ่งทั้งในและนอกประเทศ >> จะต้องเสียภาษีในอัตราร้อยละ 7

Featured Posts
Recent Posts
Archive
Search By Tags
Follow Us
  • Facebook Basic Square
  • Google+ Basic Square
bottom of page
1272965523380705