แนวทางการปรับปรุงบัญชี: รายได้ค้างรับ, ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย, รายได้รับล่วงหน้า
การปรับปรุงบัญชี เพื่อแก้ไขข้อผิดพลาด: รายได้ค้างรับ ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย รายได้รับล่วงหน้า
ขั้นตอนการปรับปรุงรายการ
1.บันทึกรายการปรับปรุงในสมุดรายวันทั่วไป
2.ผ่านรายการปรับปรุงไปยังสมุดบัญชีแยกประเภททั่วไป
3.หายอดคงเหลือในบัญชีต่างๆในบัญชีแยกประเภทใหม่อีกครั้งหนึ่ง และนำยอดคงเหลือนั้นไปจัดทำงบทดลองเพื่อตรวจสอบความถูกต้องในการบันทึกบัญชี เรียกว่า “งบทดลองหลังการปรับปรุง”
ประเภทของรายการที่ต้องทำการปรับปรุง
1.รายได้ค้างรับ
2.ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
3.รายได้รับล่วงหน้า
4.ค่าใช้จ่ายจ่ายล่วงหน้า
5.ค่าเสื่อมราคา
6.ค่าตัดจำหน่าย
7.ค่าสูญสิ้น
8.วัสดุสิ้นเปลืองใช้ไป
9.หนี้สงสัยจะสูญ
10.การแก้ไขข้อผิดพลาด
#รายได้ค้างรับ
รายได้ค้างรับ คือ รายได้ที่เกิดขึ้นในงวดบัญชีปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้รับเงิน และจะได้รับเงินในงวดบัญชีถัดไป เช่น ค่าเช่าค้างรับ ดอกเบี้ยค้างรับ ฯลฯ ซึ่งรายได้ค้างรับถือเป็นสินทรัพย์หมุนเวียน
เดบิต รายได้ค้างรับ xxx >> เป็นรายการสินทรัพย์ในงบดุล
เครดิต รายได้ค้างรับ xxx >> เป็นรายการรายได้ในงบกำไรขาดทุน
ตัวอย่าง บริษัทฝากธนาคาร 1,000,000 บาท โดยได้รับดอกเบี้ย 3% เป็นการฝากแบบประจำ 3 เดือน โดยได้เริ่มฝากในวันที่ 1 พ.ย.59
เดบิต ดอกเบี้ยค้างรับ 5,000
เครดิต ดอกเบี้ยรับ 5,000
เมื่อได้รับเงินรายได้ดอกเบี้ยรับ ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 จะบันทึกรายการเพื่อบันทึกเงินสดที่ได้รับ แล้วล้างบัญชีดอกเบี้ยค้างรับทิ้งไป
เดบิต เงินสด 7,500
เครดิต ดอกเบี้ยค้างรับ 5,000
ดอกเบี้ยรับ 2,500
#ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย
ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย หมายถึง ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นในงวดปัจจุบัน แต่ยังไม่ได้จ่ายเงินจนกว่าจะถึงงวดบัญชีถัดไป เช่น ค่าไฟฟ้า ค่าแรง ฯลฯ ซึ่งค่าใช้จ่ายค้างจ่ายถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน
เดบิต ค่าใช้จ่าย xxx >> เป็นรายการค่าใช้จ่ายในงบกำไรขาดทุน
เครดิต ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย xxx >> เป็นรายการหนี้สินในงบดุล
ตัวอย่าง ณ วันที่ 31 ธ.ค.59 บริษัทมีค่าแรงซึ่งยังไม่ได้จ่าย 2 วัน เป็นเงิน 1,000 บาท
เดบิต เงินเดือนและค่าแรง 1,000
เครดิต เงินเดือนและค่าแรงค้างจ่าย 1,000
เมื่อจ่ายเงินเดือนและค่าแรงงานในวันที่ 4 มกราคม 2560 จำนวน 1,500 บาท จะบันทึกรายการจ่ายเงิน เพื่อล้างบัญชีเงินเดือนและค่าแรงค้างจ่ายทิ้ง
เดบิต เงินเดือนและค่าแรงค้างจ่าย 1,000
เงินเดือนและค่าแรง 500
เครดิต เงินสด 1,500
#รายได้รับล่วงหน้า
รายได้รับล่วงหน้า หมายถึง รายได้ที่ได้รับจากลูกค้าล่วงหน้า โดยที่ยังไม่ได้ส่งมอบสินค้าหรือให้บริการแก่ลูกค้า ซึ่งกิจการมีภาระต้องให้บริการในอนาคต ดังนั้น จำนวนเงินที่ได้รับจึงถือเป็นหนี้สินหมุนเวียน เมื่อกิจการได้ให้บริการเสร็จเรียบร้อยเป็นบางส่วนหรือทั้งหมดแล้ว จึงจะบันทึกบัญชีเปลี่ยนจากหนี้สินเป็นรายได้ตามส่วนที่ให้บริการแก่ลูกค้า บริการที่ได้ให้แก่ลูกค้าในงวดนั้นจะถือว่ารายได้เกิดขึ้นในงวดนั้นด้วย ส่วนจำนวนเงินที่กิจการได้รับไว้แล้ว แต่ยังไม่ให้บริการ จึงเป็นสภาพหนี้สินยกไปงวดถัดไป เช่น ค่าบริการรับล่วงหน้า ค่าเช่ารับล่วงหน้า ฯลฯ สามารถบันทึกได้ 2 วิธี คือ บันทึกเป็นรายได้รับล่วงหน้า หรือบันทึกเป็นรายได้
>> บันทึกเป็นรายได้รับล่วงหน้า << กิจการจะบันทึกเงินสดที่ได้รับมาทั้งหมดเป็นหนี้สิน เมื่อวันสิ้นงวดจึงมาปรับปรุงรายการรายได้รับล่วงหน้า เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุนในส่วนที่ได้ให้บริการแก่ลูกค้าแล้ว
เดบิต เงินสด xxx
เครดิต รายได้รับล่วงหน้า xxx >> เป็นรายการหนี้สินในงบดุล
ณ วันสิ้นงวด ซึ่งได้ให้บริการแล้วบางส่วนจะลงบัญชีล้างรายได้รับล่วงหน้าในส่วนที่ได้ให้บริการแล้วออกจากบัญชี โดยจะไปบันทึกรับรู้รายได้แทนในจำนวนที่เท่ากัน
เดบิต รายได้รับล่วงหน้า xxx
เครดิต รายได้รับ xxx >> เป็นรายการรายได้ในงบกำไรขาดทุน
ตัวอย่าง บริษัทรับค่าเช่าอาคารล่วงหน้าจากผู้เช่าในวันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นค่าเช่าสำหรับ 6 เดือน เป็นเงินรวม 12,000 บาท
เดบิต เงินสด 12,000
เครดิต ค่าเช่ารับล่วงหน้า 12,000
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริษัทต้องปรับปรุงเป็นรายได้ค่าเช่ารับ สำหรับวันที่ 1 กันยายน 2559 - 31 ธันวาคม 2559 รวม 4 เดือน เป็นเงิน 8,000 บาท
เดบิต ค่าเช่ารับล่วงหน้า 8,000
เครดิต ค่าเช่ารับ 8,000
>> บันทึกเป็นรายได้ << กิจการจะบันทึกเงินสดที่ได้รับมาทั้งหมดเป็นรายได้ทั้งหมด ดังนั้นในวันสิ้นงวดกิจการจะมีรายได้รับมากเกินไป ในวันสิ้นงวดจึงต้องปรับปรุงรายการรายได้ให้แสดงเป็นรายได้สำหรับงวดบัญชีนี้เท่านั้น ส่วนที่เหลือจะนำไปบันทึกไว้เป็นรายการรายได้รับล่วงหน้า
เดบิต เงินสด xxx
เครดิต รายได้รับ xxx >> เป็นรายได้ในงบกำไรขาดทุน
ณ วันสิ้นงวด ซึ่งได้ให้บริการแล้วแต่ยังให้บริการไม่แล้วเสร็จทั้งหมด ดังนั้นหากยังคงบันทึกทั้งหมดเป็นรายได้ จะทำให้การรับรู้รายได้ในงวดสูงเกินไป จึงต้องทำการปรับปรุงรายได้ให้แสดงรายได้ที่เกิดขึ้นจริงสำหรับในงวด แล้วนำส่วนที่ยังไม่ได้ให้บริการไปไว้เป็นรายการรายได้รับล่วงหน้า
เดบิต รายได้รับ xxx
เครดิต รายได้รับล่วงหน้า xxx >> เป็นหนี้สินในงบดุล
ตัวอย่าง บริษัทรับค่าเช่าอาคารล่วงหน้าจากผู้เช่าในวันที่ 1 กันยายน 2559 เป็นค่าเช่าสำหรับ 6 เดือน เป็นเงินรวม 12,000 บาท
เดบิต เงินสด 12,000
เครดิต ค่าเช่ารับ 12,000
ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2559 บริษัทต้องปรับปรุงเป็นรายได้ค่าเช่ารรับล่วงหน้า สำหรับวันที่ 1 มกราคม 2560 - 28 กุมภาพันธ์ 2560 รวม 2 เดือน เป็นเงิน 4,000 บาท
เดบิต ค่าเช่ารับ 4,000
เครดิต ค่าเช่ารับล่วงหน้า 4,000
To Be Continue...