1272965523380705 1272965523380705 1272965523380705
top of page
Female Accountant

ภาษีนอกตำรา

เรื่องที่ 2: ในงบการเงินมีเงินสดเหลือจำนวนมาก หรือ เป็นแค่ตัวเลขไม่มีอยู่จริง มีปัญหาทางภาษีหรือไม่? 

เขียนโดย อ.ดำริ ดวงนภา

เรื่องที่ 2: ในงบการเงินมีเงินสดเหลือจำนวนมาก หรือเป็นแค่ตัวเลขไม่มีอยู่จริง มีปัญหาทางภาษีหรือไม่ ?

โดยปกติกิจการจะคงเงินสดไว้ในบัญชี ในระดับที่เหมาะสมเพื่อให้มั่นใจว่าจะเพียงพอต่อการใช้ในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งจำนวนที่ถือไว้ต้องมีจำนวนเท่าใด ไม่มีกฎหมาย หรือมาตรฐานใดกำหนดไว้ ขึ้นอยู่กับความจำเป็น ของแต่ละประเภทและลักษณะของธุรกิจ ที่แตกต่างกัน  ดังนั้น การที่งบการเงินของกิจการ จะมีเงินสดเหลืออยู่มาก หรือน้อยเพียงใด ก็ควรจะเป็นสิทธิของกิจการ(ใช่ไหม?) และเมื่อผู้สอบบัญชีได้รับรองแล้ว ก็ไม่น่าจะมีปัญหาภาษี กับทางสรรพากรแต่ประการใด  แต่ก็มีเคสที่เกิดขึ้นจริง ในบางกรณี กิจการมีเงินสดคงเหลือสูงมากเกินไป ค่อนข้างผิดปกติ แม้ผู้สอบบัญชีจะรับรองแล้ว ก็อาจเกิดปัญหาและถูกสรรพากร ประเมินให้เสียภาษีได้ หรือบางกรณีสรรพากรเรียกมาถามแล้ว ก็ไม่รู้ว่าจะประเมินอย่างไร ก็อาจใช้อำนาจตามกฎหมายต่าง ๆ ที่มีอยู่ ตรวจสอบบัญชีของกิจการ จึงเป็นเรื่องใหญ่ที่กิจการควรระวัง มีตัวอย่างให้ดูในเคสต่าง ๆ ดังต่อไปนี้ 

ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้าง มียอดเงินสดคงเหลือยกมาประมาณ 3 ล้านบาท แต่ละเดือนมีการรับ-จ่าย ยอดเงินคงเหลือก็ประมาณเดือนละ 2-3 ล้านบาท  ผู้รับมอบอำนาจของห้างฯ ไปให้การกับเจ้าหน้าที่สรรพากรว่า ห้างฯ นำเงินสดไปใช้หมุนเวียนในกิจการ เป็นค่ามัดจำสินค้าประมาณเดือนละ 1- 2 แสน ส่วนเงินสดที่เหลือ อยู่ในความรับผิดชอบของหุ้นส่วนผู้จัดการ มิได้นำไปฝากธนาคารเพื่อหาประโยชน์อื่นใด เมื่อเป็นดังนี้ สรรพากรจึงถือว่าห้างฯ ให้ผู้จัดการกู้ยืมเงินโดยไม่คิดดอกเบี้ย โดยไม่มีเหตุอันสมควร สรรพากรจึงประเมินดอกเบี้ย เท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำ ของธนาคารพาณิชย์ในขณะนั้นได้ 

มีหลายบริษัทฯ ที่เงินสดแสดงไว้ในงบการเงินไม่มีอยู่จริง สอบถามแล้วก็ได้ความว่าเป็นเพียงตัวเลขที่แสดงไว้ในการขอยื่นจดทะเบียนบริษัทฯ เพื่อนำไปใช้ในการประมูลงานราชการ เมื่อประมูลงานไม่ได้ก็ไม่ได้ประกอบกิจการอื่นใด ไม่มีตัวเงินสดจริงๆ แบบนี้ก็ต้องระวัง เพราะถ้าสรรพากรใช้อำนาจในการประเมินเรื่องการกู้ยืมไม่ได้ก็อาจใช้มาตรการอื่น ๆได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อบริษัทฯ และผู้สอบบัญชีของบริษัทด้วย เช่น

ห้างหุ้นส่วนจำกัดฯ ไม่มีเงินสดเหลือตามงบดุลที่ผู้สอบบัญชีรับรองไว้ และไม่มีหลักฐานใด ๆ ว่าห้างฯ นำเงินไปให้ผู้ใดกู้ยืม กรณีนี้ สรรพากรจะใช้อำนาจประเมินดอกเบี้ย กรณีการให้กู้ยืมเงินไม่ได้ เพราะไม่มีหลักฐานการให้กู้ยืม เคสแบบนี้จึงได้ให้สรรพากรจังหวัด รายงาน พฤติการณ์ของผู้สอบบัญชี ให้กรมสรรพากรทราบ เพื่อดำเนินการ และยังให้รายงานต่อคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีทราบด้วยเพื่อพิจารณาลงโทษผู้สอบบัญชี

บางบริษัทฯ มีเงินสดเหลืออยู่ในบัญชีเป็นจำนวนมาก ทั้ง ๆ ที่บริษัทฯ ก็ยังมีเงินกู้ธนาคาร และมีดอกเบี้ยที่ต้องจ่าย ซึ่งรายจ่ายดอกเบี้ยที่เกิดขึ้น บริษัทฯ ได้นำไปเป็นรายจ่ายหักจากกำไรสุทธิของกิจการ เพื่อลดยอดภาษี  ด้วยเหตุที่บริษัทฯเก็บรักษาเงินสดไว้มากโดยไม่นำเงินสดไปฝากธนาคารเพื่อให้เกิดรายได้ดอกเบี้ย หรือนำเงินสดไปลดยอดเงินเบิกเกินบัญชี เพื่อให้ดอกเบี้ยเงินกู้ลดลง จึงเป็นข้อสงสัยเป็นปัญหาทางภาษี กับทางสรรพากร ส่วนสรรพากรเองจะประเมินรายได้ดอกเบี้ย จากเงินสดที่เหลืออยู่ก็ไม่ได้เพราะบริษัท ฯยังไม่มีการให้กู้ยืมเงิน  ในเคสนี้ กรมสรรพากร จึงมีคำสั่งให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบอย่างละเอียดว่า เงินสดของบริษัทฯ ได้มาอย่างไรเสียภาษีถูกต้องหรือไม่ เหตุใดเก็บไว้เฉย ๆ แล้วให้รายงานให้กรมฯทราบ งานเข้าเลยครับ เคสนี้

ติดตามภาษีนอกตำรา
Ep.3 หักค่าเสื่อมราคาทรัพย์สิน ด้วยวิธีการแบบนี้ก็ได้ด้วยหรือ???

อบรมบัญชี อบรมภาษี เรียนรู้บัญชี เรียนรู้ภาษี สรรพากร สภาวิชาชีพบัญชี สถาบันKASME สถาบันคัสเม่ เก็บชั่วโมงอบรม นับชั่วโมงอบรม อบรมบัญชีระยอง อบรมบัญชีกรุงเทพ อบรมบัญชีชลบุรี อบรมบัญชีจันทบุรี อบรมภาษีระยอง อบรมภาษีชลบุรี อบรมภาษีจันทบุรี อบรมภาษีกรุงเทพ กฏหมายภาษี มาตรฐานการบัญชี อาจารย์ดำริดวงนภา TaxAuditor สำนักงานประกันสังคม ภาษี บัญชี สรรพากร สำนักงานบัญชีระยอง ระยอง

*สงวนลิขสิทธิ์งานเขียน อ.ดำริ ดวงนภา ข้อมูลทุกรูปแบบที่ปรากฏอยู่ในเว็บไซต์ www.kasmethai.com และที่ปรากฏตามสื่อสังคมออนไลน์อื่นๆ ภายใต้การดูแลของเว็บไซ์ www.kasmethai.com ห้ามคัดลอก ดัดแปลง ทำซ้ำ หรือนำเนื้อหาส่วนหนึ่งส่วนใดในเว็บไซต์ www.kasmethai.com ไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร

bottom of page
1272965523380705